เดินเล่นถ่ายไฟชิลๆสิ้นปีต้องมา! ส่งท้ายปีเก่าด้วยทริคการถ่ายภาพไฟช่วงเทศกาล ไม่ว่าจะถ่ายไฟแบบไหนก็ออกมาระยิบระยับ สวยปัง พร้อมทำให้ภาพธรรมดาดูดีขึ้นไปอีก 10 เท่า ในวันนี้เราจะมานำเสนอ 2 ทริคในการถ่ายไฟ ที่จะมาช่วยสร้างสรรค์ให้ภาพถ่ายไฟของคุณสวย จนใครๆก็ต้องกดไลก์
ทริคที่1 ถ่ายรูปไฟทั่วไปตามสถานที่เที่ยวช่วงเทศกาล
Cr. Elly Fairytale , Sudan Ouyang
Cr. Elly Fairytale
อยากถ่ายไฟให้สวย! นอกจากจะมีกล้องดีๆแล้ว ก็อย่าลืมพกขาตั้งกล้องไปด้วย ตัวช่วยสุดคูลที่จะทำให้ภาพออกมาคมชัด เพราะเราจะต้องปรับหรือตั้งค่ากล้อง จะใช้แค่มือประคอง ก็อาจจะทำให้ภาพเบลอได้
ส่วนใหญ่จะปรับ/ตั้งค่ากล้องอยู่ 3 - 4 อย่าง เช่น ISO, ค่ารูรับแสง, White balance และความเร็วชัตเตอร์ อยากให้ภาพสว่างขึ้น ทั่วไปก็จะปรับ ISO ประมาณ 400 แต่ถ้าภาพยังมืดอยู่ ให้ดันค่า ISO ขึ้น แต่ยิ่งเพิ่มแสงเราจะต้องใส่ใจเรื่องการโฟกัสของภาพด้วย เราก็เลยต้องใช้ค่าตั้งกล้องเข้ามาช่วยนั่นเอง
ในส่วนของการตั้งค่ารูรับแสง จะปรับไปที่ f/8 อันนี้จะพอดีกับการตั้งค่า ISO ตามค่าข้างบน ให้จำไว้ว่าค่า f ต่ำจะทำให้ไฟเข้ามามากขึ้น แต่ถ้า f สูงจะทำให้ไฟเข้ามาได้น้อย ทริคนี้เอาไปใช้ได้ทุกสถานการณ์เลย
White balance เราจะปรับไฟเพื่อไม่ให้สีในภาพเพี้ยน เพราะไฟช่วงเทศกาลจะมีสีสันที่หลากหลาย และส่วนใหญ่จะเป็นแสงสีส้มอย่างไฟ Tungsten อาจจะทำให้แสงและสีที่เข้ามาในกล้องเยอะๆ เกิดเพี้ยนได้ เราจะต้องปรับค่า Tungsten ในกล้องให้ลดลง เพื่อแก้สีส้มในภาพโดยกล้องจะใส่สีน้ำเงินและสีฟ้าเข้าไป
แต่ถ้าที่ตั้งมาหมดแล้วแสงยังไม่พอ เราจะต้องมาตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงกว่าเดิม นอกจากเพิ่มแสงให้สว่างขึ้นแล้ว ยังลดการเกิด noise ที่มาจากการตั้งค่า ISO ไว้สูงอีกด้วย
ทริคที่ 2 ถ่ายรูปกับไฟเย็น หรือ การถ่ายแบบ Light painting
Cr. John Benitez
Cr. Kartik Gupta , Jude Beck
Cr. Daniel Gregoire , Collin Armstrong
Cr. Issy Doherty , Ethan Hoover
ถ่ายรูปกับไฟเย็นต้องตั้งค่าหรือปรับกล้องยังไงบ้าง? ทริคนี้ก็ต้องพกขาตั้งกล้องไปเหมือนกัน เพื่อทำให้ภาพไม่สั่น ในตอนที่เราต้องตั้งค่ากล้องเยอะๆ
ต้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าหรือนานกว่าปกติ เพราะการถ่ายไฟเย็นแบบที่กำลังเคลื่อนไหว ต้องมีการปรับค่า ISO และค่ารูรับแสง อาจจะไม่มีค่าที่เป๊ะๆในการถ่าย เพราะในการถ่ายแต่ละครั้งจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน บางที่อาจจะมีแสงเข้ามามากกว่า บางที่อาจจะมืดกว่าก็แล้วแต่สถานการณ์
โดยส่วนใหญ่จะชอบตั้ง ISO ประมาณ 400 ตั้งค่ารูรับแสง เริ่มต้นที่ f/4 ในค่านี้จะทำให้ภาพเกิดมิติ หน้าชัดหลังเบลอ และกล้องจะโฟกัสให้ไฟเย็นของเรามีความคมชัดมากยิ่งขึ้น และนอกจากที่เราจะต้องปรับค่า ISO กับค่า f แล้ว ก็ต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ที่บอกไปตอนแรกด้วย ส่วนมากจะปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงประมาณ 5 วินาที ทำให้ตอนที่เรากดชัตเตอร์จะต้องค้างไว้ 5 วินาทีนั่นเอง พร้อมแล้วเริ่มถ่ายกันเลย!
แล้วแสงไหนจะเอามาวาดได้บ้าง? จริงๆพูดได้เลยว่าแสงไหนก็เอามาใช้ได้ แต่ส่วนมากจะไม่นิยมใช้แสงที่จ้าจนเกินไป อาจจะใช้ไฟแฟลชจากมือถือ ไฟฉายขนาดเล็กมากๆ แสงไม่ฟุ้ง และตัวเอกอย่างไฟเย็นของเรานี่เหมาะเลย หลังจากนั้นเราต้องเลือกช่วงเวลาที่มีแสงน้อยมากๆ อย่างช่วงเย็นๆ ค่ำๆ ช่วงเวลาออกไปเดินชิลหรือแฮ้งก์เอ้ากับเพื่อนๆ และตอนวาดต้องระวังกันหน่อย เพราะเราต้องวาดไฟไปที่หน้ากล้องเสมอ ถ้าหันไปมา อาจจะทำให้กล้องถ่ายไฟที่หันไปมาไม่ติด
หลังจากเรียนรู้ทริคดีๆมาแล้ว อย่าลืมมาส่งท้ายปีเก่าด้วยภาพไฟสวยๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟประดับตามห้าง ถนน และสานที่ท่องเที่ยว หรือจะเพิ่มไอเดียการถ่ายรูปไปอีกขั้นด้วยการถ่ายภาพไฟ Light painting ได้ภาพข้อความไฟอวดลงโซเชียลเก๋ๆ ไม่มีใครเหมือนอย่างแน่นอน
ที่มา: 15 Tips for Better Christmas Light Background Photography, https://theblondeabroad.com/how-to-take-awesome-sparkler-photos/